ไข่ครอบ อาหารพื้นบ้านจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ภาคใต้ ที่มีตำนานเช่าขานถึงความอร่อย ปัจจุบันไข่ครอบมีการยกระดับพัฒนาให้เป็นสินค้า OTOP ระดับแนวหน้าของจังหวัดสงขลา ด้วยจุดเด่นมีรสชาติอร่อยเพราะทุกขั้นตอนมีการผลิตที่สดใหม่ สะอาด สวยงาม และน่ารับประทาน
ที่มา : FB ประไพ จินนะมงคล
Post by: Admin Page
28/04/2024
ศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปูบ้านหัวเขา
ธนาคารลูกปูเกิดขึ้นได้เพราะความใกล้ชิดกับชุมชนในพื้นที่ ทำให้เราทราบถึงปัญหาของ พี่น้องชาวประมงจากปัญหาปริมาณสัตว์น้ำที่ลดลง จึงเข้าไปส่งเสริมในการพัฒนาประมงอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมจัดตั้งเครือข่ายอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลในจังหวัดสงขลา ปัจจุบันศูนย์เพาะฟักลูกปูบ้านหัวเขากลายเป็นที่ศึกษาดูงานและศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการประมง สถานที่ฝึกอบรมเกี่ยวกับการเพาะฟักลูกปู ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดสงขลา
ที่มา : https://www.thairath.co.th
Post by: Admin Page
28/04/2024
มะม่วงเบาแช่อิ่ม ของอร่อยยอดฮิตจากสงขลา ที่ไม่ว่าใครมาเยือน ก็ต้องพากันซื้อกลับเพราะไม่อาจต้านทานกับรสชาติที่แซ่บบเด็ดดวงของมะม่วงลูกจิ๋วที่มีรสชาติเปรี้ยว หวาน เค็ม แถมกรอบสุดๆ เอกลักษณ์เฉพาะของมะม่วงเบาอำเภอสิงหนคร จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ รสเปรี้ยวกำลังดีไม่เปรี้ยวจัด เนื้อกรอบ เปลือกบาง ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด
ที่มา : เพจ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีชุมชนตำบลหัวเขา
Post by: Admin Page
28/04/2024
ผลิตภัณฑ์
ข้าวเกรียบกุ้งขนมทาน เล่นที่คนไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่จริงๆแล้วสามารถทำเองได้ง่ายๆ วัตถุดิบน้อย สามารถทำเก็บไว้กินได้นาน อยากกินก็เพียงแค่นำออกมาทอดเพียงเท่านี้ก็จะได้ของทานเล่น ซึ่ง ข้าวเกรียบกุ้ง หจก สงขลาเงือกทอง สามารถทานได้ทุกวัย และทุกศานาเพราะมีตราเครื่องหมายฮาลาล
Post by: Admin Page
29/04/2024
จุดบริการนักท่องเที่ยวมัคคุเทศก์น้อย กลุ่มเยาวชนจิตอาสาชมรม VYC
กลุ่มมัคคุเทศก์น้อย กลุ่มเยาวชนจิตอาสาชมรม VYC จัดตั้งขึ้นเพื่อบริการนักท่องเที่ยว โดยเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มเยาวชนตำบลหัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชุมชน
Post by: Admin Page
28/04/2024
เส้นทางการท่องเที่ยว
สุสานมรหุ่ม (สุสานสุลต่าน สุไลมาน)
สุลต่าน สุไลมาน (พระเจ้าเมืองสงขลาที่๑)
พระเจ้าเมืองสงขลา หรือ สุลต่าน สุไลมาน เป็นเจ้าเมืองสงขลาสมัยอยุธยาระหว่างปี พ.ศ. 2162-2211 เป็นผู้สร้างเมืองสงขลาริมเขาแดง ซึ่งรุ่งเรืองอยู่ระหว่างครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 2 ถึงตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 23 ความรุ่งเรืองของเมืองสงขลายุคนี้ เกิดจากการขยายตัวทางด้านการค้าของดัตช์ อังกฤษและฝรั่งเศสเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะบริเวณแหลมมาลายูและหมูเกาะอินโดนีเซียหรือเรียกกันสมัยนั้นว่า “หมู่เกาะอินเดียตะวันออก” เรื่องราวของเมืองสงขลายุคนี้ ส่วนใหญ่จึงปรากฏในเอกสารของชนชาติเหล่านั้น น่าแปลกใจที่ไม่มีเอกสารร่วมสมัยของฝ่ายไทยกล่าวถึงเรื่องนี้เลย มีเฉพาะพงศาวดารเมืองสงขลา ซึ่งเขียนขึ้นตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 25 เท่านั้น ที่กล่าวไว้อย่างง่ายๆ ในเอกสารของชาวตะวันตก เรียกชื่อพระเจ้าเมืองสงขลาแตกต่างกัน เป็นต้นว่าของดัตช์ เรียกว่า “โมกุล” ของอังกฤษเรียกว่า “ดะโต๊ะ โมกอลล์” ในขณะที่ทางฝ่ายไทยโดยเฉพาะพงศาวดารเมืองสงขลา เรียกว่า “สุลต่าน สุเลมัน” และชาวเมืองสงขลารู้จักจากเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาว่า “สุลต่าน สุไลมาน”หรือ “ตามรหุม”
Post by: Admin Page
28/04/2024
เป็นป้อมเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น เมื่อ พ.ศ. 2189 เป็นป้อมปราการที่แข็งแรงมาก กองทัพกรุงศรีอยุธยายกมาตีถึง 3 ครั้ง จึงสามารถตีได้ เป็นป้อมที่ก่อด้วยอิฐและหินถือปูน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ละด้านมีช่องเสมาสำหรับวางปืนใหญ่ 3 ช่อง เป็นป้อมที่ได้รับอิทธิพลของชาติตะวันตก
ป้อมหัวเขาแดงเป็นแหล่งอารยธรรมและประวัติศาสตร์ของจังหวัดสงขลา ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า “ซิงกอรา” หรือ “เมืองสิงขร”
ในอดีตย่านนี้เป็นเมืองท่าโบราณที่เจริญมั่งคั่งด้านการค้า โดยเฉพาะในสมัยสุลต่านสุไลมาน ตรงกับสมัยพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา ผังเมืองสงขลาเก่าหัวแดงออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส มีลักษณะเป็นเมืองสี่เหลี่ยม มีป้อมปืนใหญ่รวมทั้งสิ้น 18 ป้อม กั้นเป็นปราการป้องกันการรุกล้ำของข้าศึกที่เดินทางมาทางทะเลจากอ่าวไทย ทะเลจีนใต้ ปัจจุบันสามารถขึ้นไปชมเค้าโครงของป้อมปราการนี้ได้ ในบริเวณป้อมเขาหัวแดงยังสามารถชมทัศนียภาพในมุมสูงของชุมชนเขาหัวแดง ริมทะเลสาบสงขลา ซึ่งมองเห็นได้ไกลถึงตัวเมืองสงขลา ที่ตั้งอยู่อีกฝั่งของทะเลสาบอีกด้วย
Post by: Admin Page
28/04/2024
มัสยิดยาบัลโรดเหร๊าะหม๊ะ(มัสยิดใหญ่บ้านหัวเขา)
ประวัติ
จากการศึกษาของนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คาดว่ามัสยิดยาบัลโรดเหร๊าะหม๊ะ สร้างในราวรัชสมัยของสุลตาน สุลัยมาน ชาฮ์ (ประมาณ พ.ศ. ๒๑๗๓-๒๒๐๓) เมื่อมีการยกเขตรอบนอกเมืองสิงหนครเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลสาบสงขลาสำหรับกันทัพเรือของเมืองปัตตานี ต่อมาเป็นมัสยิดร้างเสียเมื่อคราวสมัยสุลตานมุซตาฟา ชาฮ์ ทำสงครามพ่ายแพ้แก่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา มัสยิดหลังแรกซึ่งสร้างในรัชสมัยสุลตานสุลัยมาน ชาฮ์นั้น เข้าใจกันว่าสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง แต่ปูพื้นด้วยกระเบื้องแบบไทย ขนาดกระเบื้องเป็นรูปจตุรัสกว้างยาวประมาณ ๑ ศอกยังปรากฏหลักฐานมาจนถึงปัจจุบันนี้
ประวัติมัสยิดยาบัลโรดเหร๊าะหม๊ะ หลังปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๐ มัสยิดหลังเก่าได้อยุ่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมลงตามกาลเวลา นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี(ในขณะนั้นเป็นดะโตะอิหม่าม มัสยิดยาบัลโรดเหร๊าะหม๊ะ) จึงได้มีการประชุมสัปบุรุษอีกครั้งปรากฏตามจดหมายเหตุความว่า จึงดาโตะอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ธรรมการประจำมัสยิดทั้งนั้น ก็ปฤกษากิจการด้วยปวงสัปบุรุษแห่งเมืองสิงหนคร กับทั้งพ่อค้าวาณิชย์ทั้งไทย มลายู จีน อาหรับ เห็นพร้องต้องกันให้ขยายเขตมัสยิดออกไป จึงพ่อค้าชาวอาหรับชื่อเชคอับดุลลาตีฟ ได้มีศรัทธาบริจาคเงินกองหนึ่งเป็นทุน สำหรับให้ก่อสร้างมัสยิดอันเป็นถาวรสืบไป ครั้นปฤกษากันแล้วเสร็จ ดาโตะอิหม่าม อาศิล พิทักษ์คุมพล ก็ปฤกษาให้ครูเยื้อน โรงเรียนบ้านหัวเขาเขียนโครงมัสยิด ให้มีโดมอย่างสูงตามอย่างมัสยิดในนครเมกกะ๑ โดมกว้างตามแบบนครมะดีนะ๑ แล้วให้มีโดมตามแบบไทยเป็นจตุรัส๑ กระเบื้องมุงนั้นท่านสั่งมาแต่เมืองเพชรทั้งสิ้น ปัจจุบันมัสยิดยาบัลโรดเหร๊าะหม๊ะ ทรุดโทรมลงตามกาลเวลาอันเนื่องมาจากขาดการบูรณะมาเป็นเวลาเกือบ ๓๐ ปี แต่มัสยิดนี้ก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์อย่างเดิมไว้ทุกประการ
Post by: Admin Page
28/04/2024
สวนองุ่นจอมทอง ต.สทิงหม้อ อ.สิงหนคร จ.สงขลา ถือฤกษ์ดี 19 พ.ย.เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เข้าไปเที่ยวชมและถ่ายภาพช่อองุ่นที่น่ากินมาก โดยมีกฎห้ามจับและเด็ดลูกองุ่นเท่านั้น โดยมีองุ่นที่ปลูกไว้ตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2560 ในพื้นที่ 494 ตารางเมตร หลากหลายสายพันธุ์ จำนวน 225 ต้น ใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ
Post by: Admin Page
28/04/2024
กิจกรรม
กระบวนการทำผ้ามัดย้อม
1. นำผ้ามาจุ่มน้ำสะอาดบิดพอหมาด ใช้ยางมัด ส้อม เมล็ดถั่ว ลูกแก้ว มัดกับผ้าเพื่อทำลวดลายบนผ้า สามารถออกแบบได้ตามความต้องการ ลายที่ได้จะขึ้นอยู่กับขั้นตอนการมัด
2. เมื่อมัดเสร็จแล้ว นำผ้าลงไปขยำในสีย้อมจากใบมะม่วง ขยำให้สีเข้าเนื้อผ้า และแช่ผ้าทิ้งไว้ในสีย้อม ผ้าที่มีขนาดเล็กแช่ทิ้งไว้ประมาณ 15นาที ผ้าที่มีขนาดใหญ่ควรแช่ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที
3. นำผ้าที่แช่สีย้อมนำมาล้างด้วยน้ำสะอาด ล้างจนกว่าน้ำจะใสไม่มีสีย้อมจากผ้าหลุดปนมาในน้ำ
4. หลังจากนั้นนำผ้าที่ล้างสะอาดแล้วมาซักด้วยน้ำยาซักผ้าเด็ก เพราะไม่มีสารเคมี
5. เมื่อซักผ้าเสร็จแล้ว นำผ้ามาแกะยางมัด หรือวัสดุอื่น ๆ ที่ใช้ทำลวดลายผ้าออก
6. เมื่อแกะวัสดุที่ใช้ทำลวดลายผ้าออกจึงนำผ้ามาตาก โดยต้องตากในที่ร่มไม่ให้ผ้าโดนแสงแดด เพราะแสงแดดจัด ๆ จะทำให้สีผ้ามัดข้อมจางได้
Post by: Admin Page
30/04/2024
กระบวนการทำมะม่วงแช่อิ่ม
1. ปอกเปลือกมะม่วงเบา นำมาผ่าครึ่ง พยายามอย่าให้บ้างในมีตำหนิ
2. นำมะม่วงเบาไปดองน้ำเกลือ 1 คืน
3. เทน้ำเกลือออกแล้วนำมะม่วงไปแช่น้ำเชื่อม 24 ชั่วโมง
4. เทน้ำเชื่อมออกแล้วต้มน้ำเชื่อมใหม่ นำน้ำเชื่อมใส่ลงไปในภาชนะที่ใส่มะม่วงเบาอีกครั้ง แช่น้ำเชื่อม 24 ชั่วโมงแล้วค่อยเทออก ทำวนไปรวมแล้วมะม่วงเบาต้องแช่น้ำเชื่อม 4 คืน
5. สุดท้ายเทน้ำ เชื่อมออกแล้วทิ้งมะม่วงเบาไว้ให้แห้ง 1 คืน
6. เมื่อมะม่วงแห้งแล้วก็จะกลายเป็นมะม่วงแช่อิ่มตามสูตร จากนั้นนำมะม่วงแช่อิ่มที่แห้งแล้วใส่ลงในบรรจุภัณฑ์ก็จะเสร็จสมบูรณ์
Post by: Admin Page
30/04/2024